หลวงปู่สีห์ พินทสุวัณโณ (บำรุงกิจ) อายุ ๘๘ ปี (พ.ศ.๒๔๓๗-๒๕๒๖)

ประวัติ
หลวงปู่สีห์ พินทสุวัณโณ (บำรุงกิจ) หลวงปู่ศรี เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่่า เดือน ๘ ปี มะเมีย ณ บ้านดอนกลาง ต่าบลกระจิว อ่าเภอภาชี พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ ‘ก้าน’ โยม มารดาชื่อ ‘เล็ก’ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนโต



การศึกษา
เมื่อท่านอายุ ๘ ปี โยมบิดานำไปฝากให้เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมที่วัดสุทัศน์ กรุงเทพ โดยอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้ใหญ่ระดับเจ้าคุณ การศึกษาเบื้องต้น ท่านมีความ เชี่ยวชาญในอักขระวิธีภาษาขอมเป็นอย่างดี

บรรพชา/อุปสมบท
ท่านอายุ ๑๔ ปี บรรพชาสามเณร ในระหว่างเป็นสามเณรนั้น ท่านได้ศึกษาทางคันถะธุระ แผนกบาลี (เรียนมูลกัจจายนะ) จนสามารถแปลภาษาบาลีได้เชี่ยวชาญ ท่านครองเพศสามเณรจน อายุได้ ๒๓ ปี จึงกลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสะแก โดยการแนะน่าของญาติผู้ใหญ่ ท่านเข้าสู่พัทธสีมาวัดสะแก เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันพุธ แรม ๔ ค่่า เดือน ๖ ปีมะเส็ง โดยมีหลวงพ่อกลั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแด่ วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์พุฒิ วัดสะแก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ‘พินฺทสุวณฺโณ’ เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว มิได้เรียนต่อทางปริยัติอีก ท่านหันมาศึกษาทางพุทธาคม โดยมีหลวงพ่ออุปัชฌาย์ ‘กลั่น’ วัดพระญาติการาม เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทให้ และยังเที่ยวศึกษากับเกจิอาจารย์อีกหลายที่ เช่น ที่วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา กระทั่งอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์คนล่าสุดก็คือ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ การเรียนพุทธาคมปฏิบัติได้เข้มแข็งมาก เรียนกระทั่งหมอยารักษาโรค เช่น โรคพยาธิ และเรียนหมอดูท่านายทายทักได้แม่นย่ามากทีเดียว กระทั่งทางวัตถุมงคล ท่านเป็นพระอภิญญา ชาวบ้านและข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น นายควง อภัยวงศ์ กับอธิบดีต่างๆ มาเป็นลูกศิษย์ จนถึง ราชครูวามเทพมุนี ซึ่งได้มาขอเรียนต่อกับท่าน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง เช่น รูปท้าวมหาพรหม พรหมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปิดตา พระพิมพ์ และรูปเหมือนต่างๆ เป็นต้น ท่านเป็นพระสุปฏิปัณโณรูปหนึ่งที่สามารถรู้กาลข้างหน้า ในชีวิตเป็นสมณเพศ ท่านไม่ค่อยอาพาธบ่อยนัก มีอาพาธหนักอยู่ครั้งหนึ่งเมื่ออายุ ๘๔ ปี ถึงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลาจวนจะรุ่งอรุโณทัย ท่านอาพาธหนักด้วยโรคลม แม้บรรดาศิษย์จะพยายามเยียวยารักษาเป็นอย่างดี อาการโรคของท่านไม่ดีขึ้นเลย และในที่สุดวาระสุดท้ายของท่านก็มาถึง คือวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๐๖.๐๕ น. ก็ถึงกาลมรณภาพ ด้วยการนั่งเข้าที่สมาธิ ณ กุฏิของท่าน สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี พรรษา ๖๕ พรรษา

วัดสะแก ได้รับการพัฒนา ปรับปรุง และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาโดยล่าดับ เพราะมีคณาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงปู่ใหญ่ ติณณสุวัณโณ ท่านมีความสามารถในการปกครองและการบริหาร จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาที่ท่านปกครองวัดสะแกใน ฐานะเจ้าอาวาส ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๕๒๕ นั้น ท่านได้พัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม และ ด่าเนินการก่อสร้างอาคาร ศาสนสถานต่างๆ ของวัดไว้อย่างมากมาย อีกทั้งท่านเป็นผู้ที่ด่าริให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดสะแก อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยท่านได้มอบหมายให้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นผู้ด่าเนินการ ซึ่งในปีดังกล่าว วัดสะแก ได้จ้ดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลเนื้อผงพุทธคุณและเนื้อดินเผามากมายหลายแบบพิมพ์ ส่วนหลวงปู่สีห์ พินทสุวัณโณ นั้น ท่านเป็นคณาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับกันในด้านพุทธาคม หมอยารักษาโรค หมอดูท่านายทายทักที่รู้กาลล่วงหน้า จนเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ อย่างมากมาย ด้านวัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นนั้น บรรดาลูกศิษย์ได้ ประจักษ์และยอมรับถึงพุทธานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ และหลวงปู่ดู่ท่านได้มีโอกาสร่วมกับหลวงปู่สีห์ จัดสร้างวัตถุมงคลของวัดสะแกหลายวาระ อีกทั้งหลวงปู่ดู่ ยังได้น่าแบบพิมพ์พระ โดยเฉพาะพิมพ์ที่เป็นรูปพระพรหมแบบต่างๆ ของหลวงปู่ศรีมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลของท่านไว้มากมาย เช่นกัน จะเห็นว่าคณาจารย์ทั้งสองท่าน มีความส่าคัญต่อวัดสะแกและมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ดังที่กล่าวมา

ใส่ความเห็น